วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555


                                                                     หน่วยที่ 2
หลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรม    คือ  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   ความคิดและการกระทำที่ใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
นวัตกรรมทางการศึกษา  หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
เทคโนโลยีทางการศึกษา  คือ  การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการสอนเพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์   เพื่อนำมาผลิอุปกรณ์   เครื่องมือตลอดจนเทคนิคต่างๆ
นวัตกรรมและเทคโนโลยี    คือ  Innotech  การใช้ในการศึกษาคือใช้ในการเรียนการสอนใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆมาใช้ร่วมกันใช้สื่อเทคนิควิธีการหลากหลาย
หลักการและทฤษฏีแนวคิดที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.จิตวิทยาทางการศึกษา
        1.1   ทฤษฏีการเรียนรู้
        1.2   ทฤษฏีความแตกต่างระหว่างบุคคล
        1.3    ทฤษฏีการพัฒนาการ
2.ทฤษฏีการสื่อสาร   
 3.ทฤษฏีระบบ
4.ทฤษฎีการเผยแพร่
หลักการทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษ
ทฤษฏีการเรียนรู้มี  2  กลุ่ม
1.       กลุ่มพฤติกรรม
2.       กลุ่มความรู้
                      การนำทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
                1. การเรียนรู้เป็นขั้นตอนขั้นพื้นฐาน(Step  By   Step)
                2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน  (Interaction)
                3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที(Feed  Bact)
                4. การได้รับการเสริมแรง(Reinforcement)
                ทฤษฏีการเรียนรู้
                ได้แก่  ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวหนังการรับรู้จากการเห็น75%   ได้ยิน  13%   สัมผัส 6%  กลิ่น  3%  รส  3 การรับรู้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพลหรือปัจจัยในการรับรู้   ได้แก่ลักษณะของผู้รับรู้   ลักษณะของสิ่งเร้า
บทความ  :  แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรม

                  “นวัตกรรมคือคำที่ฟังติดหูในยุคสมัยปัจจุบันเป็นยิ่ง ไม่ว่าเราจะมองไปทางไหนทิศใดเราก็มักที่จะเห็นคำๆนี้กระจัดกระจายอยู่ตามป้ายผ้าโฆษณา  ศูนย์การค้า  ศูนย์การศึกษาตามแหล่งต่างๆ เป็นต้น

กระบวนการของนวัตกรรม
ตามความคิดของผู้เขียน  กระบวนการของนวัตกรรมมีดังนี้คือ
1.ขั้นความคิด  คือ  การนึก คิด แนวทาง หรือกระบวนการแห่งนวัตกรรมนั้นๆขึ้นมา  เพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่างของมนุษย์ทั้งในทิศทางบวก  และทิศทางลบ
2 .ขั้นเสาะแสวงหาโอกาส  คือ  การใช้โอกาสในวาระต่างๆ  นำเอานวัตกรรม  สิ่งประดิษฐ์ หรือแนวคิดนั้นๆไปทดลองใช้
3. ขั้นพัฒนา  คือ  การนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปปรับใช้  เปลี่ยนแปลง  ให้เกิดภาวการณ์ก้าวข้ามผ่านสิ่งเก่า 
4.  ขั้นแพร่กระจาย  คือ  นวัตกรรมนั้นๆได้รับการนำไปใช้ในวงกว้าง  อย่างแพร่หลาย  จนกลายเป็นเทคโนโลยีในอนาคต

 ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สำคัญ ดังนี้
   1. การศึกษาปัญหาการเรียนการสอน
   2. การกำหนดและจัดทำนวัตกรรมการเรียนการสอน
   3. การจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน
   4. การทดลองศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน
   5. การนำนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้แก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียน
   6. การเขียนรายงานผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
   7. การเผยแพร่ผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

หลักสำคัญของนวัตกรรม
    จากความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันแต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณา นวัตกรรมไว้ดังนี้จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนมีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไปกระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
 หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
    พิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด